สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 19-25 มิถุนายน 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2566
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจาก
ปี 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.977 ล้านไร่ ผลผลิต 26.632 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 423 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และคาดว่าปริมาณฝนจะน้อยกว่าปี 2565 โดยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2566 จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์การเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2566/67 เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 - กุมภาพันธ์ 2567
โดยเดือนเมษายน-มิถุนายน 2566 มีการเพาะปลูกข้าวนาปี จำนวน 43.731 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 70.12
ของเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ คาดว่าผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.547 ล้านไร่ ผลผลิต 6.171 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 646 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.51 ร้อยละ 25.14 และร้อยละ 0.62 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีมากกว่าปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนัก และปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ รวมทั้งราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก และการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2566 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2566 ปริมาณรวม 4.728 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็น
ร้อยละ 61.23 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 7.398 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 95.81 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด 
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,849 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,818 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,975 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,950 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,330 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,030 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.87
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 868 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,066 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 874 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,074 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 8 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 520 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,012 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,514 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.16 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 498 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,220 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,721 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.14 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 499 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.6383 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนมิถุนายน 2566 ผลผลิต 520.492 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 512.525 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2565/66 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนมิถุนายน 2566
มีปริมาณผลผลิต 520.492 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 1.55 การใช้ในประเทศ 523.772 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.46 การส่งออก/นำเข้า 55.808 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.67 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 170.213 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 1.89
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เมียนมา กัมพูชา กายานา อินเดีย ปากีสถาน ปารากวัย ตุรกี และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ บราซิล ไทย และเวียดนาม
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แองโกลา บังกลาเทศ จีน ไอเวอรี่โคสต์ กานา กินี อิหร่าน มาเลเซีย เม็กซิโก โมซัมบิก เนปาล ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่า
จะนำเข้าลดลง
ได้แก่ บราซิล เอธิโอเปีย อินโดนีเซีย อิรัก เคนยา  และฟิลิปปินส์
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย บังกลาเทศ และไนจีเรีย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่
20 มิถุนายน 2566 ได้มอบรางวัลการประกวดข้าวพันธุ์ใหม่เพื่อการพาณิชย์ ครั้งที่ 2 ณ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งดำเนินการตามยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563 - 2567 ที่กำหนดเป้าหมายส่งเสริมข้าวพันธุ์ใหม่ของไทยให้ครบ 12 พันธุ์ ภายในระยะเวลา 5 ปี จำแนกเป็น ข้าวพื้นแข็ง 4 พันธุ์ ข้าวพื้นนุ่ม 4 พันธุ์ ข้าวหอม 2 พันธุ์ และข้าวโภชนาการสูง 2 พันธุ์ ทั้งนี้ เนื่องจากต้องการแก้จุดอ่อน คือ ความไม่หลากหลายของผลิตภัณฑ์ข้าวที่เสนอขายในตลาดโลก จึงได้เร่งเพิ่มข้าวพันธุ์ใหม่
เพื่อแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง แต่เพียง 3 ปีแรก (ปี 2563 - 2565) ไทยสามารถส่งเสริมได้ข้าวพันธุ์ใหม่แล้ว 21 พันธุ์
โดยช่วงปี 2563-2565 กรมการข้าวปรับปรุงข้าวพันธุ์ใหม่และรับรองพันธุ์สำเร็จ 12 พันธุ์ และในช่วงปี 2564-2565 สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยได้จัดประกวดข้าวพันธุ์ใหม่ จำนวน 2 ครั้ง โดยปี 2564 ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ 6 พันธุ์ ที่มีการรับรองพันธุ์และทดลองปลูกในแปลงแล้ว และปี 2565 ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ 3 พันธุ์
สำหรับปี 2566 ข้าวพันธุ์ใหม่ที่ชนะการประกวด 3 พันธุ์ ได้แก่ 1) ข้าวหอมไทย พันธุ์ 65RJ-06 2) ข้าวขาวพื้นนุ่ม พันธุ์ 65RJ-08 และ 3) ข้าวขาวพื้นแข็ง พันธุ์ 65RJ-13 ซึ่งบริษัทรวมใจพัฒนาความรู้ จำกัด (มูลนิธิรวมใจพัฒนา)
เป็นผู้ส่งเข้าประกวดทั้ง 3 ชนิดข้าว
นายจุรินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สามารถดำเนินการได้เกินเป้าหมาย ทั้งเชิงปริมาณ คือ จำนวนพันธุ์ข้าว และเงื่อนไขระยะเวลาที่เร็วกว่าปี 2567 พร้อมทั้งกล่าวถึงกรมการข้าว และกรมการค้าต่างประเทศ ให้ช่วยดำเนินการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาพันธุ์ข้าวต่อไป และขอให้กรมการข้าวเร่งรัดการจดทะเบียนรับรองข้าวพันธุ์ใหม่ที่ชนะการประกวดโดยเร็ว รวมทั้งเร่งผลิตเมล็ดพันธุ์ และทดลองปลูกในแปลงเกษตรกร เพื่อนำผลผลิตไปเปิดตลาดข้าวโลก ซึ่งคาดว่าการส่งออกข้าวไทยจะดีขึ้น
ไทยจะมีผลิตภัณฑ์จากข้าวที่มีความหลากหลายในตลาดโลกมากขึ้น สำหรับสถานการณ์การส่งออกข้าวไทย ปี 2565
ไทยส่งออกข้าว ปริมาณ 7.7 ล้านตัน และคาดว่าปี 2566 จะสามารถส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 8 ล้านตัน โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่ากว่าปี 2565 ทำให้ข้าวไทยแข่งขันได้ดีขึ้น ความต้องการข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น และไทยมีข้าวหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้มากขึ้น และหวังว่าในอนาคตภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าวที่ทำให้ไทยมีพันธุ์ข้าวใหม่ๆ จำนวนมาก และตอบสนองความต้องการของตลาดได้นั้น ไทยจะกลับมาเป็นแชมป์ส่งออกข้าว
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม-มิถุนายน) คาดว่าไทยจะส่งออกข้าวได้ 4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่ส่งออกได้ 3.51 ล้านตัน และตลอดทั้งปี 2566 คาดว่าจะสามารถส่งออกได้มากกว่า 8 ล้านตัน เพราะขณะนี้ทั่วโลกกังวลปัญหาภัยแล้ง
จากปรากฎการณ์เอลนีโญ จึงเร่งนำเข้าข้าว ประกอบกับช่วงครึ่งหลังของปี 2566 เวียดนามจะมีข้าวเหลือส่งออกไม่มากนัก เพราะช่วงครึ่งปีแรกส่งออกไปแล้วกว่า 4 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าปกติ และปัจจุบันราคาข้าวไทยแข่งขันได้ เพราะค่าเงินบาทอ่อนค่า โดยคาดว่าราคาข้าวจะสูงขึ้นได้อีก จากปัจจุบันข้าวขาว 5% ไทย ตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ เวียดนาม ตันละ 510 ดอลลาร์สหรัฐฯ และอินเดีย ตันละ 480 ดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเอลนีโญจะกระทบต่อผลผลิตข้าวไทย แต่เชื่อว่าไทยจะมีข้าวเหลือส่งออกแน่นอน นอกจากนี้ สมาคมฯ ได้ร่วมกับกรมการค้าต่างประเทศเดินทางไปพบปะเจรจากับผู้นำเข้าข้าวรายสำคัญ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดข้าวไทย เช่น ฮ่องกง จีน และฟิลิปปินส์ ส่วนการเจรจาขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับจีน ที่ทำสัญญาซื้อข้าวไทย 1 ล้านตัน ปัจจุบันยังคงเหลือข้าวที่จะต้องซื้ออีก 280,000 ตัน นั้น จากการหารือกับคอฟโก (รัฐวิสากิจของจีนที่นำเข้าข้าว) ได้รับการยืนยันจะซื้อจากไทยให้ครบตามสัญญา
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์ และ Commerce News Agency Online
 
ฟิลิปปินส์
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (the US Department of Agriculture: USDA) คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ฟิลิปปินส์จะนําเข้าข้าวประมาณ 3.8 ล้านตัน เนื่องจากคาดว่าความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจาก
สํานักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) ระบุว่า ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2566 ฟิลิปปินส์นําเข้าข้าวจำนวน 1.3 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับจำนวน 1.5 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยเป็นการนําเข้าจากเวียดนามมากที่สุด จำนวน 1.2 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 90 ของการนําเข้าข้าวทั้งหมด รองลงมา คือ เมียนมา จำนวน 70,165 ตัน สำหรับส่วนที่เหลือเป็นการนําเข้าข้าวจากไทย ปากีสถาน อินเดีย จีน และญี่ปุ่น
นาย Leocadio S. Sebastian ปลัดกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ ให้การรับรองว่าในปี 2566 จะไม่เกิดวิกฤตข้าว ในช่วงเริ่มต้นของปรากฎการณ์เอลนีโญ (El Nino) ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรได้เตรียมมาตรการต่างๆ ที่จําเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีข้าวเพียงพอในช่วงฤดูแล้งที่อาจจะได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 รวมถึงการเลื่อนฤดูการเพาะปลูกให้เร็วขึ้น ซึ่งปกติการเพาะปลูกข้าวของฟิลิปปินส์จะเริ่มในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม โดยกระทรวงเกษตรร่วมกับ National Prevention Administration (NIA) ได้เลื่อนปฏิทินการเพาะปลูกเพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวได้ก่อนเดือนพฤศจิกายน เพราะคาดว่าเป็นช่วงที่จะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากปรากฎการณ์เอลนีโญ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรได้จัดทําแผนที่พื้นที่เพาะปลูกที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ เพื่อเตรียมการให้ความช่วยเหลือที่จําเป็นแก่เกษตรกร โดยมีการจัดเตรียมมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งในพื้นที่เสี่ยง
ทั้งนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 สํานักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ของฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ประเมินความน่าจะเป็นของการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรก เดือนมิถุนายน -สิงหาคม 2566 คาดว่ามีโอกาสประมาณร้อยละ 80 และจะรุนแรงขึ้นในช่วงหลัง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 - มกราคม 2567 ที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 86
 ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.81 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.70 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้
ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.70 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 370.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,809.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 372.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,807.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 2.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 651.00 เซนต์ (8,990.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 620.00 เซนต์ (8,502.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.00 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 488.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)
คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.815 ล้านตัน (ร้อยละ 2.49 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (ร้อยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังเป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.77 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.76 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.91 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.93 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.29
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.32 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.33 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.12
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.40 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 18.40 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 262.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,130 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 262.50 ดอลลาร์สหรัฐ (9,100 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,570 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวที่ตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,500 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.548 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.279 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.704  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.307 ล้านตันของเดือนพฤษภาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 9.15 และร้อยละ 9.12 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.60 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 4.86 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 15.23
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.98 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 30.33 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.14
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ภัยแล้งในสหรัฐอเมริกาและในบางส่วนของยุโรป คลื่นความร้อนในอินเดียและจีน ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มปรับตัวสูงขึ้น ร่วมกับความกังวลของตลาดเรื่องสถานการณ์เอลนีโญ ที่ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางรายคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันปาล์มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในปีหน้า เนื่องจากสถานการณ์เอลนีโญที่คาดจะรุนแรงขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,693.97 ริงกิตมาเลเซีย (28.14 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตัน 3,425.85 ริงกิตมาเลเซีย (26.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.83  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 921.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32.28 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 908.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31.63 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.43
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         - Itau BBA คาดการณ์ว่า ในปี 2566/2567 น่าจะมีน้ำตาลโลกส่วนเกิน (Surplus) อยู่ที่ 4 ล้านตัน ด้านบริษัทที่ปรึกษา Archer Consulting เสริมว่า ผลผลิตอ้อยในภาคกลาง – ใต้ของบราซิล น่าจะสูงถึง 600 ล้านตัน ในฤดูกาลนี้ และ 640 ล้านตัน ในปี 2567/2568 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีปริมาณอ้อยค้างในไร่ที่มากพอ ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลง ด้าน BTG Pactual สะท้อนความรู้สึก โดยคาดการณ์ว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอาจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการของน้ำตาล และไฮดรัส
         - Agroclima รายงานว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) ในประเทศบราซิลน่าจะทำให้มีฝนตกมากในฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึงในรัฐรีโอกรันดีโดซูล (Rio Grande do Sul)รัฐซานตากาตารีนา (Santa Catarina) รัฐปารานา (Parana) และในบางพื้นที่ของรัฐเซาเปาโล (Sao Paulo) และมาตูโกรสโซโดซูล (Mato Grosso do Sul) ซึ่งการที่มีฝนนั้นน่าจะสามารถช่วยให้อ้อยเติบโตได้เต็มที่ แต่อาจจะทำให้การเก็บเกี่ยวช้าลงเช่นกัน และเสริมอีกว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลอาจจะมีปริมาณฝนที่ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านบริษัทที่ปรึกษา Datagro ตั้งข้อสังเกตว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) อาจทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น 0.5 – 2 องศาทางตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตามสภาพอากาศรูปแบบนี้จะไม่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดน้ำค้างแข็ง




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,496.65 เซนต์ (19.27 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,410.9 เซนต์ (18.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.08
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 421.85 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.78 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 399.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.72
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 57.24 เซนต์ (44.21 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 54.69 เซนต์ (41.93 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.66


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.00 บาท
ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 14.00
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,013.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.10 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,017.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 867.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 871.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,304.60 ดอลลาร์สหรัฐ (45.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,309.60 ดอลลาร์สหรัฐ (45.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 896.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 900.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,153.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.94 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,157.40 ดอลลาร์สหรัฐ (39.83 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.24 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.92 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.10
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.78 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,910 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,882 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,393 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,398 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.36 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 929 บาทคิดเป็นร้อยละ 1.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  79.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 79.71 คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 83.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.03 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 78.99 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 78.15 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อเกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.20 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.73 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.81 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.75 บาท บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 357 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 367 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.12 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 397 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 406 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 406 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 377 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 417 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 445 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.61 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 91.99 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.27 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 89.63 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 71.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 72.45 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.36 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 
 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 19 – 25 มิถุนายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ  
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.01 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 61.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.28 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.27 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.19 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.34 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 122.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.05 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.90 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.64 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 86.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.75 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท